โครงการจัดตั้งศูนย์ตำนานเล่าขานเมืองโบราณค่ายเนินวง

1.ชื่อโครงการ : โครงการจัดตั้งศูนย์ตำนานเล่าขานเมืองโบราณค่ายเนินวง

2.หลักการและเหตุผล
สิ่งที่คาดหวังของกรมศิลปากรได้พยายามผลักดันให้ประเทศไทยเข้าสู่การเรียนรู้เชิงประวัติศาสตร์ เนื่องจากปัจจุบันนี้ประวัติศาสตร์ชาติไทยล้วนมีความสำคัญกันทั้งสิ้น โดยการขึ้นทะเบียนค่ายเนินวงหรือค่ายรบโบราณของจังหวัดจันทบุรีให้เป็นโบราณสถาน เพื่อเกิดการเรียนรู้เชิงอนุรักษ์ตลอดชีวิต ซึ่งภายในค่ายเนินวงจะมีพิพิธพันธ์แห่งชาติพาณิชย์นาวีที่เก็บรักษาวัตถุโบราณจากเรือโบราณต่างๆที่จมอยู่ใต้ทะเลอ่าวไทยโดยจะแบ่งเป็นห้องต่างๆ ดังนี้

1.ห้องจัดแสดงสินค้าและชีวิตชาวเรือ

2.ห้องแนะนำปฏิบัติการโบราณคดีใต้น้ำ

3.ห้องคลังเก็บรักษาโบราณวัตถุ

4.ห้องแสดงเรือและชีวิตชาวเรือ

5.ห้องของดีเมืองจันทร์

6.ห้องบุคคลสำคัญ
พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 3ได้เล็งเห็นถึงการสร้างค่ายเนินวงขึ้นมาด้วยความสำคัญเพื่อศึกญวนที่จะมาทางทะเล ซึ่งมีกรณีพิพาทเกี่ยวกับลาว เป็นกบฏแล้วไปฝักใฝ่กับญวน จนทางไทยเราไม่ไว้ใจญวน ร.3 จึงโปรดเกล้าให้สร้างค่ายเนินวงขึ้นเพราะทรงเห็นว่า เมืองนี้อยู่บนชัยภูมิที่ดี เป็นที่สูง มองไปเห็นได้ไกลถึงปากแม่น้ำจันทบุรีและอ่าวใกล้เคียง ภายในเมืองสร้างศาลหลักเมือง คลังกระสุนและดินดำ พร้อมกันนั้นยังให้สร้างวัดโยธานิมิตรขึ้นไว้เป็นวัดประจำเมือง เมื่อสร้างเสร็จรัฐบาลให้ย้ายราษฎรไปอยู่ที่เมืองใหม่ค่ายเนินวงนี้ แต่เนื่องจากไกลจากแหล่งน้ำใช้ ราษฎรจึงสมัครใจอยู่ที่เก่าเป็นส่วนมาก คงมีอยู่ แต่หมู่ข้าราชการเท่านั้น และค่ายเนินวงหลังจากนั้นก็ได้ตั้งเป็นศูนย์เพื่อให้คนรุ่นหลังได้ไปศึกษาเพราะของทุกๆชิ้นในค่ายนั่นล้วนเป็นสิ่งที่มีคุณค่าจำพวกของโบราณน่าศึกษา อันเป็นแหล่งการเรียนรู้ของเด็กเยาวชนและประชาชนในด้านโบราณสถานต่อไป

3. วัตถุประสงค์
1) เพื่อจัดตั้งศูนย์ตำนานเล่าขานเมืองโบราณค่ายเนินวง ให้กับประชาชนทุกกลุ่มวัย
2) เพื่อเป็นการเผยแพร่ความรู้ ความสำคัญที่เกี่ยวกับศิลปวัฒนธรรมทางประวัติศาสตร์
และโบราณคดีพื้นบ้านในจังหวัดจันทบุรีของค่ายเนินวง
3) เพื่อเป็นการอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรมทางประวัติศาสตร์ของค่ายเนินวงให้ยังคงสืบทอด
ต่อไปยังชนรุ่นหลัง
4) เพื่อเป็นศูนย์การจัดการเรียนรู้ตามอัธยาศัยของจังหวัดจันทบุรี

4. เป้าหมาย
ประชาชน นักเรียน นักศึกษา บุคลากรท้องถิ่น ผู้ประกอบการชุมชน และส่วนราชการทุกภาคส่วนทั้งในตำบลผักแว่นและตำบลใกล้เคียง

5. วิธีดำเนินการ
1) ติดต่อประสานงานกับกรมศิลปากรเพื่อขอรับการจัดตั้งศูนย์การเรียนรู้ตำนานเล่าขานเ
มืองโบราณค่ายเนินวง
2) จัดทำโครงการเพื่อขออนุมัติดำเนินการจากนายกองค์การบริหารส่วนตำบลบางกะจะ
3) แต่งตั้งคณะกรรมการบริหารงานศูนย์ตำนานเล่าขานเมืองโบราณค่ายเนินวง
4) ดำเนินงานตามโครงการ
5) สรุปผลและประเมินผลโครงการอย่างต่อเนื่อง

6. สถานที่ดำเนินการ
เมืองโบราณค่ายเนินวง ตำบลบางกะจะ อำเภอเมือง จังหวัดจันทบุรี

7. ระยะเวลาดำเนินการ
ธันวาคม 2554 เป็นต้นไป

8. งบประมาณดำเนินการ
งบประมาณจากเมืองโบราณค่ายเนินวง เป็นเงิน 30,000 บาท
หมวดค่าใช้สอย ประเภทรายจ่ายเกี่ยวกับการรับรองและพิธีการ เพื่อเป็นค่าใช้จ่าย
1. ค่ารถ NGV นำเที่ยวภายในค่ายเนินวง จำนวน 1 คัน
เป็นเงิน 10,000 บาท
2. ค่าตกแต่ง จัดสร้าง บูรณะสถานที่
เป็นเงิน 9,600 บาท
3. ค่าสมนาคุณวิทยากร จำนวน 1 คน
เป็นเงิน 1,200 บาท
4. ค่าประชาสัมพันธ์ แผ่นพับใบความรู้
เป็นเงิน 1,200 บาท
5. ค่าตอบแทนผู้ดูแลและควบคุมระบบ ศูนย์การเรียนรู้ ค่ายเนินวง เดือนธันวาคม พ.ศ.2554
เป็นเงิน 8,000 บาท
โดยทุกรายการสามารถถัวเฉลี่ยจ่ายได้
รวมเป็นเงินทั้งสิ้น 30,000 บาท (สามหมื่นบาทถ้วน)

9. ผู้รับผิดชอบโครงการ 
เมืองโบราณค่ายเนินวง และนิสิตสาขาเทคโนโลยีการศึกษา กลุ่ม1 ที่ลงทะเบียนรายวิชา 423312 การจัดการศูนย์ทรัพยากรการเรียนรู้

10. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
1) เกิดแหล่งเรียนรู้ทางด้านศิลปวัฒนธรรม ประวัติศาสตร์ และโบราณคดี ทำให้ประประชนมีความรู้ ความเข้าใจ และเห็นความสำคัญของประวัติศาสตร์มากขึ้น
2) บุคลากรท้องถิ่นมีความรู้ในเรื่องเรื่องประวัติศาสตร์พื้นบ้านของตนมากขึ้น
3) เป็นแหล่งความรู้ของชุมชน ตลอดจนภูมิภาคทั่วประเทศ

11.โครงสร้างองค์กร


12. ภาระหน้าที่ของฝ่ายงานต่างๆในศูนย์
 สำนักงานเลขานุการศูนย์ตำนานเล่าขานเมืองโบราณค่ายเนินวงมีหน้าที่ติดต่อประสานงานภายในและภายนอกศูนย์ฯ ประสานงานกับผู้เข้าชม ทั้งงานด้านบริหาร จัดทำบัญชีเบิก-จ่ายของศูนย์ พร้อมทั้งทำประวัติ เอกสารประกอบคำบรรยายของสิ่งที่จัดแสดง

1. งานบริการส่วนหน้า
1) ให้คำแนะนำและอำนวยความสะดวกแก่ผู้เข้าชม
2) ประสานงานด้านการสื่อประชาสัมพันธ์

2. งานบริหาร
1) วางแผนการดำเนินงาน
2) ควบคุมการทำงานของทุกฝ่าย

3. งานบัญชี
1) เบิก-จ่ายงบประมาณศูนย์
2) จัดทำสรุปการเบิก-จ่ายงบประมาณศูนย์

ฝ่ายวิชาการ
1. งานวิชาการ
1) ศึกษาข้อเท็จจริงของเรื่องราวในประวัติศาสตร์
2) วิเคราะห์ข้อเท็จจริง
3) นำข้อมูลมาให้บริการทางด้านความรู้ภายใยศูนย์

ฝ่ายอาคารสถานที่
1. งานซ่อมบำรุง
1) ดูแลรักษาโบราณสถานที่จัดแสดงภายในศูนย์
2) ดูแลทัศนียภาพของศูนย์ทั้งภายในอาคารและนอกอาคาร
3) ควบคุมดูแลและซ่อมแซมยานพาหนะอยู่เสมอเพื่อความสะดวกแปลอดภัยแก่ผู้ใช้บริการ

13. รายชื่อคณะทำงาน
1) เมธินี กันอริ ตำแหน่ง ผู้อำนวยการ
2) กาญจนาภา เพ้งวิริวานนท์ ตำแหน่ง รองผู้อำนวยการ
3) กิตติยา เพิ่มพูน ตำแหน่ง เลขานุการ
4) ธนวรรณ สันทัดสิน ตำแหน่ง คณะกรรมการ
5) มณฑิตา คุณารักษ์ ตำแหน่ง คณะกรรมการ
6) วรินทร ขำวิไล ตำแหน่ง คณะกรรมการ
7) บุญสิตา บุญมี ตำแหน่ง คณะกรรมการ

14.นโยบายหลัก
1) ดำเนินการเกี่ยวกับการอนุรักษ์และเผยแพร่วัฒนธรรมพื้นบ้าน ประวัติศาสตร์ชนพื้นเมือง
และโบราณคดี
2) ส่งเสริมและสนับสนุนการเรียนรู้เกี่ยวกับประวัติศาสตร์ และวัฒนธรรมพื้นบ้านให้เกิดความน่าสนใจ
3) ส่งเสริมให้บุคคลทั้งในชุมชนและบุคคลทั่วไปตระหนักถึงความสำคัญของประวัติศาสตร์ความเป็นมาของจังหวัดจันทบุรี

15.ปณิธาน
ศูนย์ตำนานเล่าขานเมืองโบราณค่ายเนินวง เล็งเห็นถึงความสำคัญของประวัติศาสตร์ ศิลปวัฒนธรรมพื้นเมือง และมุ่งมั่นพัฒนาประสิทธิภาพของศูนย์ให้มีความตื่นเต้นน่าสนใจ สนุกกับการเรียนรู้เรื่องราวทางประวัติศาสตร์ และศิลปวัฒนธรรมพื้นเมือง

16. วิสัยทัศน์
ดำเนินการศูนย์ทรัพยากรการเรียนรู้ ควบคู่ประวัติศาสตร์ ให้ความสำคัญกับศิลปวัฒนธรรมพื้นบ้าน มุ่งพัฒนาจิตสำนึกแห่งการรักชาติ

17.พันธกิจ
ศูนย์ตำนานเล่าขานเมืองโบราณค่ายเนินวง มุ่งมั่นพัฒนาความรู้ด้านประวัติศาสตร์ ศิลปวัฒนธรรมพื้นเมืองให้มีความน่าสนใจ เพื่อสนับสนุนให้คนพื้นเมืองและประชาชนชาวไทยหันมาใส่ใจและให้ความสำคัญกับประวัติศาสตร์มากขึ้น

18. คำขวัญของหน่วยงาน
ให้ความรู้ คู่ความสนุก เรื่องเล่าขานตำนานค่ายเนินวง

19.สัญลักษณ์ของหน่วยงาน
ความหมายของสัญลักษณ์ศูนย์
สัญลักษณ์ของศูนย์ เป็นรูปป้อม ซึ่งเป็นสัญลักษณ์สำคัญของค่ายเนินวง แสดงถึงความแข็งแรงแข็งแกร่งของป้อมในการตั้งหลักปักฐานทำค่ายสู้รบ ปกป้องเมืองและแสดงถึงความเก่าแก่ทางประวัติศาสตร์ของเมืองจันทบุรี

20.โครงสร้างเว็บไซต์ของหน่วยงาน



21.หล่งที่อยู่บนเว็บไซต์ของศูนย์
http://www.kaineonwong.blogspot.com

· 2 D Barcode


22. แผนการดำเนินโครงการ


23. แบบฟอร์มการขอใช้บริการ